จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่เกาะสุเวลาสี ประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2561 สร้างความเสียหายให้ผู้คนบนเกาะเป็นอย่างมาก และนอกจากแผ่นดินไหวและสึนามิแล้ว พวกเขายังต้องเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์แผ่นดินเหลวอีกด้วย ซึ่งปรากฏการณ์ที่ว่านี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ทำให้ไม่ค่อยมีคนรู้จักกันสักเท่าไหร่ครับ
วันนี้นี้สิงห์อาสาจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินเหลวมาแบ่งปันให้ทุกคนได้อ่านกัน ไปดูกันเลยครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bbc.com/thai/international-45731109
ความรู้จักกับปรากฏการณ์แผ่นดินเหลว
ปรากฏการณ์แผ่นดินเหลว หรือทรายเหลว (Liquefaction) คือการที่มีน้ำทะลักขึ้นมาบนผิวดินหลังการเกิดแผ่นดินไหว โดยที่มีทรายหรือโคลนปะปนออกมากับน้ำ ส่งผลให้ถนนหรืออาคารทรุดตัว
พื้นที่ที่อาจเกิดแผ่นดินเหลว
ส่วนใหญ่มักเป็นที่ติดทะเล หรือเป็นบริเวณพื้นดินชุ่มน้ำ มีส่วนประกอบของเม็ดทรายหรือดินเหนียวปนตะกอนทราย เช่น ประเทศญี่ปุ่น หรือเมืองตามชายฝั่งของประเทศต่างๆ
สาเหตุของการเกิดแผ่นดินเหลว
การเกิดแผ่นดินไหวคือสาเหตุหลักของปรากฏการณ์แผ่นดินเหลว เพราะเมื่อไหร่ที่เกิดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว จะทำให้น้ำในชั้นใต้ดินถูกดันขึ้นมาด้านบน ส่งผลให้พื้นดินอ่อนตัวและเคลื่อนที่ได้ อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นพื้นดินทรุดตัวเป็นหลุม อาคารและบ้านเรือนจมอยู่ใต้ชั้นโคลนหนา เหมือนอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดที่เมืองปาลู เกาะสุเวลาสี ประเทศอินโดนีเซีย
วิธีการเอาตัวรอด
ถึงแม้ว่าการเอาตัวรอดในสถานการณ์ดินเหลวจะเป็นเรื่องยาก เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์พื้นที่ที่อาจเกิดได้ แต่หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง สิ่งที่เราควรทำก็คือ
1. ออกห่างจากจุดที่เกิดแผ่นดินเหลวให้มากที่สุด
2. หยิบเฉพาะสิ่งของที่จำเป็น เช่น โทรศัพท์มือถือ ไฟฉาย กระเป๋าเงิน เครื่องมือปฐมพยาบาลขั้นต้น เป็นต้น
3. ในกรณีของแผ่นดินเหลวจะต่างกับแผ่นดิวไหวตรงที่เราไม่อยู่ในอาคาร เนื่องจากหากพื้นดินทรุดตัวจะทำให้เราจมอยู่ใต้โคลนพร้อมกับอาคารได้
วิธีการเอาตัวรอด
4. เมื่ออยู่ในพื้นที่โล่ง ควรอยู่ให้ห่างจากอาคารสูง เสาไฟ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ และต้นไม้ใหญ่
5. คอยติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง